จับตาราคาเหล็กปี 65 อุตสาหกรรมโต ดีมานต์เพิ่ม ดันราคาสูง

ไวร์เมช วายเมท เสริมคอนกรีต (wiremesh) แบรนด์ WMImesh คุณภาพมาตราฐาน บริการดีเยี่ยม จัดส่งทั่วประเทศ รับเหมา
TSTH คาดผลงาน H2 งวดปี 64/65 โตต่อเนื่อง จากราคาเหล็กสูงตามดีมานด์ฟื้น
30 ตุลาคม 2021
รถเทเลอร์ ขน ไวร์เมช วายเมท (Wiremesh) แบรนด์ WMIMesh
“วินท์ สุธีรชัย” กับเส้นทางความสำเร็จในฐานะ “นักบริหารรุ่นใหม่”
15 พฤศจิกายน 2021

จับตาราคาเหล็กปี 65 อุตสาหกรรมโต ดีมานต์เพิ่ม ดันราคาสูง

จับตาราคาเหล็กปี 65 อุตสาหกรรมโต ดีมานต์เพิ่ม ดันราคาสูง

ไวเมช Update : 7 พฤศจิกายน 2564

อุตสาหกรรมเหล็กไทย ปี 65 ความต้องการใช้โตแตะ 20 ล้านตัน อัดฉีดลงทุนรัฐ อัตราฉีดวัคซีนหนุน ปรับตัวกับภาวะโรคระบาด เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องคาดภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม

อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สะพาน ทางหลวง ก่อสร้าง พลังงาน บรรจุภัณฑ์ และเสาส่งสัญญาณสาธารณูปโภค
จึงเป็นที่น่าจับตาสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กโลกและไทยช่วงปลายปีนี้รวมถึงสถานการณ์ในปี 2565 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงจะเป็นอย่างไรบ้าง
นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าความต้องการเหล็กในปี 2564
ภาพรวมดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 15% อยู่ที่ 18.9 ล้านตัน โดยคาดว่าปี 2565 จะโตเพิ่มอีก 5% ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในไทยใกล้เคียง 20 ล้านตัน

ทั้งนี้ มีปัจจัยด้านบวกที่ชัดเจนคือการลงทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นนโยบายที่นานาประเทศต่างก็หยิกยกขึ้นมาใช้
เพื่อเร่งอัดฉีดการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงภาคเอกชนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อสามารถปรับตัวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ของโควิด-19 ประชากรในประเทศมีอัตรา
การฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยว และภาคบริการจะฟื้นตัวได้ดี และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ภาคธุรกิจหลายแห่งบาดเจ็บหนัก ส่งผลให้มีปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก
เมื่อคู่ค้าไม่สามารถชำระเงินตามที่ตกลงไว้ได้

นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการซื้อขายระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป ด้วยผลจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นและเส้นทางเดินเรือที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องโรคระบาดจึงส่งผลให้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมในปีหน้าสำหรับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่จะถูกยกมาใช้เป็นกำแพงทางการค้า รวมถึงการขนส่งทางรางที่กำลัง
กลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตในไทยยังเติบโตได้ แต่ติดปัญหาอุปทานตึงตัว ทำให้ไม่สามารถผลิตได้
เท่าความต้องการในตลาด และการที่สินค้าต้นน้ำมีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไทยที่เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมกลางน้ำ จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นตาม
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
จากสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือนของเดือนตุลาคม โดยสมาคมธนาคารไทย คาดการณ์ว่าปัญหาอุปทานขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญในภาคการผลิต ความล่าช้า
ในการขนส่ง รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติจะยังไม่คลี่คลายในปีนี้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอลงเล็กน้อย
โดยมีผลกระทบต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดคือดัชนีราคาผู้ผลิตที่พุ่งสูงขึ้น กดดันกำไรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามความต้องการจากต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง
คาดว่าจะช่วยให้การส่งออกไทยยังสามารถรักษาระดับได้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะหลังจะแผ่วลงบ้างจากปัญหาอุปทานขาดแคลนที่ยืดเยื้อ และต้นทุนวัตถุดิบราคาแพง ซึ่งในปีนี้
พบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญในตลาดโลกพุ่งขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี หลังจากถึงจุดสูงสุดแล้วทำให้นักเคราะห์มองว่าราคามีแนวโน้มลดลงในปีถัดไป
โดยแร่เหล็ก (Iron Ore) มีราคาสูงสุดที่ 202.9 ดอลลาร์/ตัน ในเดือน พ.ค. 2564 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ว่าราคาจะลดลงถึง 98.5 ดอลลาร์/ตัน ในไตรมาส 3 ปี 2565

ต้นทุนขนส่งแพง
อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาเหล็กคือต้นทุนการขนส่ง ซึ่งค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางทะเลและทางอากาศมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยสำนักวิจัย
ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจเดินเรือ Drewry เชื่อว่าค่าขนส่งทางเรือจะอยู่ในระดับสูงจนถึงปี 2565 ก่อนปรับตัวลดลงในปีถัดไป โดยให้เหตุผลว่าว่าค่าขนส่งทางเรือสูงขึ้น
จากอุปทานที่มีน้อยกว่าอุปสงค์มาก ในขณะที่ค่าขนส่งทางอากาศมีการปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เติบโตได้ดี จากการขนส่งสินค้าประเภท อิเล็กทรอนิกส์ ยา
และอุปกรณ์การแพทย์
อย่างไรก็ตามบางสำนักวิจัยอย่าง JP Morgan มีความเห็นแย้งว่าค่าขนส่งในปัจจุบันได้แตะจุดสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มลดลง เพราะหากค่าขนส่งสูงเป็นระยะเวลายาว
จะส่งผลต่อราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้อุปสงค์ชะลอตัวไปด้วย

ราคาแตะ All Time High แล้ว
นอกจากนี้ ได้คาดการณ์ว่าราคาเหล็กนำเข้าเฉลี่ยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับราคา 735 ดอลลาร์/ตัน
ปรับตัวลดลง 5% จากปี 2564 ด้วยปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและราคาวัตถุดิบแร่เหล็กที่คาดว่าจะปรับลดลง 20%

รายงานอุตฯเหล็กเดือนกันยายน
ยอดการผลิตเหล็กดิบของโลกในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 144.4 ล้านตัน หดตัว 8.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่างจีน
ปรับลดการผลิตลงถึง 21.2% จากมาตรการการลดกำลังการผลิตและการใช้พลังงานในประเทศเพื่อรักษาเป้าหมายการรักษาสภาพภูมิอากาศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตเหล็กดิบไม่เกินยอดของปีก่อนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ แอฟริกา อียู ยุโรปและอื่นๆ อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
มีการผลิตเหล็กดิบที่ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยในภาพรวมการผลิตเหล็กดิบ 9 เดือนสะสมปีนี้ มีการขยายตัวขึ้น 7.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่ 1,461 ล้านตัน แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่ยังคงฟื้นตัวได้
สำหรับประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูป 1.42 ล้านตัน ขยายตัวขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวปรับตัวลดลงเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และเป็นช่วงฤดูฝนที่การก่อสร้างชะลดตัว ในขณะที่ความต้องการเหล็ก
ทรงแบนขยายตัวได้ดี เมื่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กฟื้นตัวได้ดี อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคา
รวมถึงวันที่ 1 พ.ย. 64 ที่ผ่านมาผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศอินเดียได้ประกาศปรับราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) ขึ้น 47 ดอลลาร์/ตัน เมื่อต้นทุนเงินเฟ้อสูงขึ้น
จากราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้น โดยมีความเห็นว่า “เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคา เพราะต้นทุนเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จากราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึง 70%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคาแร่เหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ผู้ผลิตรายอื่นในตลาดเองก็เริ่มปรับราคาขึ้นเช่นกัน”

นายนาวา กล่าวว่า ในปัจจุบันต้นทุนราคาเหล็กได้รับผลกระทบจากราคาค่าขนส่งที่แพงขึ้น แต่คาดว่าค่าขนส่งจะแตะเพดานราคาตามที่รัฐมีมาตรการอุ้มราคาน้ำมัน
ทำให้ค่าขนส่งจะทรงตัว อย่างไรก็ตามมองว่าราคาเหล็กเป็นไปตามปริมาณความต้องการในตลาดทั่วโลก โดยคาดว่าราคาเหล็กในไทยในปีหน้าจะปรับตัวขึ้นลง
อยู่ใกล้ราคาในปลายปีนี้ แต่จะไม่ต่ำลงถึงราคาปีก่อนหน้า

แหล่งที่มา : www.bangkokbiznews.com