การเทพื้น คอนกรีต

ตะแกรงไวรเมชลวดกลม
ตะแกรงไวร์เมช ลวดกลม ข้ออ้อย
16 เมษายน 2020
7 สิงหาคม 2020

การเทพื้น คอนกรีต

 

 

การเทพื้นคอนกรีต

โรงงานผู้ผลิต ตะแกรงเหล็กไวร์เมช คุณภาพมาตรฐาน มอก. ไวร์เมท วายเมท สำเร็จรูปสำหรับงานคอนกรีต วายเมด สต็อกพร้อมส่งทั่วประเทศ วายเมช ราคาถูก ราคาส่งจากโรงงาน

 

การเทพื้นปูน พื้นคอนกรีตเป็นถนนทางเข้าหน้าบ้าน โดยทั่วไปจะมีถวามหนาประมาณ 15 เซนติเมตร มีกำลังอัดอยู่ที่ 180 - 240 กิโลกรัม
ต่อตารางเซนติเมตร (KSC) ซึ่งแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักรถยนต์ได้ ทั้งนี้อาจใช้คอนกรีตจากการผสมด้วยฝีมือช่างในอัตราส่วนคือ
ปูนซีเมนต์ : ทราย : หิน (1 : 2 : 4) หรือจะใช้วิธีสั่งคอนกรีตผสมสำเร็จที่ผสมมาจากโรงงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและได้คุณภามาตรฐาน

การเตรียมพื้นเพื่อเทคอนกรีต

1. เริ่มต้นด้วยการปรับระดับดินเดิมให้เรียบ (ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ) และลดระดับหน้าดินเผื่อความหนา
ของทรายและคอนกรีตที่จะเทด้วย

2. ทำการตั้งแบบเทคอนกรีต โดยใช้แบบไม้เนื้อแข็งหรือแบบเหล็กสำเร็จรูปวางตามแนวของเส้นถนน
ในขอบเขตความกว้างยาวตามแบบที่กำหนดไว้ แล้วค้ำยันให้แข็งแรง แนะนำว่าความกว้างของถนน
ไม่ควรเกิน 4 เมตร ส่วนความยาวของถนนในแต่ละช่วงไม่ควรเกิน 6 เมตร เพราะการยืดหดขยายตัว
ของถนนอาจทำให้เกิดรอยร้าวได้

3. เททรายจนได้ระดับความหนา 5 เซนติเมตร แล้วบดอัดด้วยเครื่องตบดินหรือทุบให้แน่น

ขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต

1. เมื่อปรับผิวหน้าดินเรียบร้อยแล้วให้วางตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปวายเมท เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม.
ขนาดตาราง 15x15 ซม. (6 mm @15 cm) ไว้ในเนื้อคอนกรีตด้วย โดยตะแกรงเหล็กวายเมทนี้
จะต้องอยู่ต่ำกว่าผิวคอนกรีตประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันรอยร้าวที่ผิวคอนกรีตรวมถึงการ
วางตำแหน่งเหล็กเดือย (Dowel Bar)หรือเหล็กยึด (Tie Bar) ตามแบบมาตรฐานเพื่อเสริมความ
แข็งแรงในบริเวณรอยต่อตามแนวกว้างและแนวยาวของพื้นคอนกรีต

2. โดยทั่วไปจะใช้วิธีเทคอนกรีตลงไปให้ต่ำกว่าระดับที่ต้องการแล้วเกลี่ยให้ทั่ว จากนั้นวาง
ตะแกรงเหล็กวายเมทแล้วเทคอนกรีตทับอีกรอบให้ได้ระดับตามที่กำหนด หรืออาจใช้อีกวิธีหนึ่ง
คือการเสริมลูกปูนก่อนจะวางตะแกรงเหล็กวายเมททับลงไป แล้วเทคอนกรีตให้ทั่วพื้นที่จนได้
ระดับตามต่องการ วิธีนี้สะดวกตรงที่การเทคอนกรีตสามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว
3. หลังจากเทคอนกรีตลงไปแล้ว ให้ทำการปรับแต่งผิวหน้าให้เรียบร้อย จากนั้นปล่อยทิ้งไว้จน
ผิวคอนกรีตเริ่มแข็งตัวและให้บ่มพื้นคอนกรีตโดยฉีดน้ำให้ชุ่มไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้คอนกรีต
มีความแข็งแรงเต็มที่ ขั้นตอนนี้นับว่าจำเป็นมากเพราะหากไม่บ่มคอนกรีตหรือบ่มในระยะเวลา
ไม่เหมาะสม จะทำให้คอนกรีตมีประสิทธิภาพในการรับแรงต่ำกว่าที่ควร ทั้งยังอาจทำให้สารต่าง ๆ
ซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต ส่งผลให้เหล็กเสริมเป็นสนิมง่าย จนทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวเสียหายได้

4. หลังจากที่พื้นคอนกรีตแข็งแรงขึ้นแล้ว จะต้องกรีดร่องด้วย Saw Cut Machine ตามตำแหน่ง
รอยต่อคอนกรีต โดยให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร ลึก 1.5 เซนติเมตร แล้วหยอด
ยางมะตอยระหว่างช่อง ป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงไปในร่องรอยต่อ เป็นการป้องกันดินทรุดนั่นเอง