การใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ขอนแก่น
23 มกราคม 2020
ปรึกษาการขาย
20 มีนาคม 2020

การใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก

“การใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยทั่วไปจะถูกกำหนดแบบแต่ละพื้นที่เพื่อรองรับการใช้งานตามความเหมาะสมที่ต่างกัน ดังนั้นเบื้องต้นต้องทราบสเปคที่ต้องการใช้งานก่อน เช่น ขนาดลวดยืน ขนาดลวดขวาง ระยะห่างของช่องตะแกรง ความกว้าง ความยาว ขนาดพื้นที่รวม เป็นต้น ”
“ ไวร์เมชที่มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านค้า ส่วนใหญ่สินค้าเป็นชนิดลวดเล็กและไม่มี มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรม) ซึ่งหากต้องการใช้สินค้าที่มี มอก.รับรอง ต้องหาตัวแทนจำหน่ายหรือโรงงานผู้ผลิตที่มีการรองรับมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อผลิตสินค้าได้ตามแบบที่ต้องการ ”

ขั้นตอนการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช สำหรับงานคอนกรีต

1. เตรียมพื้นที่ชั้นลูกรัง ให้ได้ค่าความหนาแน่นของชั้นลูกรัง 95%
2. ชั้นทรายรองพื้น ใช้ทรายหยาบ หรือทรายถมความหนาตามแบบก่อสร้างที่ระบุ
3. ทำการเคลียเศษวัสดุต่างๆ และส่วนที่เป็นโคลนเลนออก แล้วทำการบดอัดดินเดิม
4. ตรวจสอบความหนาแน่นของพื้น และควรให้ได้ค่าความหนาแน่นอย่างน้อย 95%
5. การเข้าแบบเทคอนกรีต ปกติการเทคอนกรีตควรเทให้เต็มยาวตามแบบที่แบ่งไว้
6. ตั้งแบบโดยใช้เหล็กแนบขอบถนน ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +-2 mm หลังจากนั้นทำการค้ำยันหรือตอกหมุดให้แข็งแรง
7. เททรายความหนาแน่นตามแบบก่อสร้าง ปรับระดับและบดอัดด้วยเครื่องตบดิน เพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
8. วางตะแกรงเหล็กไวร์เมช วางโดเวลบาร์และไทร์บาร์ ตามแบบที่กำหนด
9. เทคอนกรีตและปาดหน้าคอนกรีตให้เรียบเนียนสวยงาม
10. ขัดหยาบผิวคอนกรีตด้วยเครื่องขัดใส่ถาด กวาดหน้าลายด้วยเส้นลวด
11. การถอดแบบ และเทคอนกรีตครั้งต่อไป ควรทิ้งระยะจากการเทครั้งที่แล้วอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อไม่ให้ขอบคอนกรีตบิ่นเสียหาย
12. การตัดตำแหน่งรอยต่อคอนกรีต (Joint) นั้นจะต้องกรีดตามร่องแนวกว้าง 1 cm ลึก 1.5 cm เพื่อหยดยางมะตอยระหว่างช่อง กรณีมีรอยร้าวควรหยดน้ำยางมะตอยเพื่อป้องกันดินทรุด
13. หากมีน้ำยาสำหรับบ่มคอนกรีต สามารถใช้น้ำยาทาผิวหน้าคอนกรีต อัตราส่วนตามผู้ผลิตกำหนดแนะนำ หากไม่มีควรฉีดน้ำทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้ถนนแข็งแรงขึ้น