ไวเมช Update : 7 พฤศจิกายน 2564
อุตสาหกรรมเหล็กไทย ปี 65 ความต้องการใช้โตแตะ 20 ล้านตัน อัดฉีดลงทุนรัฐ อัตราฉีดวัคซีนหนุน ปรับตัวกับภาวะโรคระบาด เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องคาดภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม
อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สะพาน ทางหลวง ก่อสร้าง พลังงาน บรรจุภัณฑ์ และเสาส่งสัญญาณสาธารณูปโภค
จึงเป็นที่น่าจับตาสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กโลกและไทยช่วงปลายปีนี้รวมถึงสถานการณ์ในปี 2565 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงจะเป็นอย่างไรบ้าง
นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าความต้องการเหล็กในปี 2564
ภาพรวมดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 15% อยู่ที่ 18.9 ล้านตัน โดยคาดว่าปี 2565 จะโตเพิ่มอีก 5% ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในไทยใกล้เคียง 20 ล้านตัน
ทั้งนี้ มีปัจจัยด้านบวกที่ชัดเจนคือการลงทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นนโยบายที่นานาประเทศต่างก็หยิกยกขึ้นมาใช้
เพื่อเร่งอัดฉีดการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงภาคเอกชนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อสามารถปรับตัวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ของโควิด-19 ประชากรในประเทศมีอัตรา
การฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยว และภาคบริการจะฟื้นตัวได้ดี และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ภาคธุรกิจหลายแห่งบาดเจ็บหนัก ส่งผลให้มีปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก
เมื่อคู่ค้าไม่สามารถชำระเงินตามที่ตกลงไว้ได้
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการซื้อขายระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป ด้วยผลจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นและเส้นทางเดินเรือที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องโรคระบาดจึงส่งผลให้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมในปีหน้าสำหรับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่จะถูกยกมาใช้เป็นกำแพงทางการค้า รวมถึงการขนส่งทางรางที่กำลัง
กลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตในไทยยังเติบโตได้ แต่ติดปัญหาอุปทานตึงตัว ทำให้ไม่สามารถผลิตได้
เท่าความต้องการในตลาด และการที่สินค้าต้นน้ำมีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไทยที่เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมกลางน้ำ จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นตาม
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
จากสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือนของเดือนตุลาคม โดยสมาคมธนาคารไทย คาดการณ์ว่าปัญหาอุปทานขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญในภาคการผลิต ความล่าช้า
ในการขนส่ง รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติจะยังไม่คลี่คลายในปีนี้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอลงเล็กน้อย
โดยมีผลกระทบต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดคือดัชนีราคาผู้ผลิตที่พุ่งสูงขึ้น กดดันกำไรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามความต้องการจากต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง
คาดว่าจะช่วยให้การส่งออกไทยยังสามารถรักษาระดับได้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะหลังจะแผ่วลงบ้างจากปัญหาอุปทานขาดแคลนที่ยืดเยื้อ และต้นทุนวัตถุดิบราคาแพง ซึ่งในปีนี้
พบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญในตลาดโลกพุ่งขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี หลังจากถึงจุดสูงสุดแล้วทำให้นักเคราะห์มองว่าราคามีแนวโน้มลดลงในปีถัดไป
โดยแร่เหล็ก (Iron Ore) มีราคาสูงสุดที่ 202.9 ดอลลาร์/ตัน ในเดือน พ.ค. 2564 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ว่าราคาจะลดลงถึง 98.5 ดอลลาร์/ตัน ในไตรมาส 3 ปี 2565
ต้นทุนขนส่งแพง
อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาเหล็กคือต้นทุนการขนส่ง ซึ่งค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางทะเลและทางอากาศมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยสำนักวิจัย
ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจเดินเรือ Drewry เชื่อว่าค่าขนส่งทางเรือจะอยู่ในระดับสูงจนถึงปี 2565 ก่อนปรับตัวลดลงในปีถัดไป โดยให้เหตุผลว่าว่าค่าขนส่งทางเรือสูงขึ้น
จากอุปทานที่มีน้อยกว่าอุปสงค์มาก ในขณะที่ค่าขนส่งทางอากาศมีการปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เติบโตได้ดี จากการขนส่งสินค้าประเภท อิเล็กทรอนิกส์ ยา
และอุปกรณ์การแพทย์
อย่างไรก็ตามบางสำนักวิจัยอย่าง JP Morgan มีความเห็นแย้งว่าค่าขนส่งในปัจจุบันได้แตะจุดสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มลดลง เพราะหากค่าขนส่งสูงเป็นระยะเวลายาว
จะส่งผลต่อราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้อุปสงค์ชะลอตัวไปด้วย
ราคาแตะ All Time High แล้ว
นอกจากนี้ ได้คาดการณ์ว่าราคาเหล็กนำเข้าเฉลี่ยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับราคา 735 ดอลลาร์/ตัน
ปรับตัวลดลง 5% จากปี 2564 ด้วยปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและราคาวัตถุดิบแร่เหล็กที่คาดว่าจะปรับลดลง 20%
รายงานอุตฯเหล็กเดือนกันยายน
ยอดการผลิตเหล็กดิบของโลกในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 144.4 ล้านตัน หดตัว 8.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่างจีน
ปรับลดการผลิตลงถึง 21.2% จากมาตรการการลดกำลังการผลิตและการใช้พลังงานในประเทศเพื่อรักษาเป้าหมายการรักษาสภาพภูมิอากาศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตเหล็กดิบไม่เกินยอดของปีก่อนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ แอฟริกา อียู ยุโรปและอื่นๆ อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
มีการผลิตเหล็กดิบที่ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยในภาพรวมการผลิตเหล็กดิบ 9 เดือนสะสมปีนี้ มีการขยายตัวขึ้น 7.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่ 1,461 ล้านตัน แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่ยังคงฟื้นตัวได้
สำหรับประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูป 1.42 ล้านตัน ขยายตัวขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวปรับตัวลดลงเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และเป็นช่วงฤดูฝนที่การก่อสร้างชะลดตัว ในขณะที่ความต้องการเหล็ก
ทรงแบนขยายตัวได้ดี เมื่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กฟื้นตัวได้ดี อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคา
รวมถึงวันที่ 1 พ.ย. 64 ที่ผ่านมาผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศอินเดียได้ประกาศปรับราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) ขึ้น 47 ดอลลาร์/ตัน เมื่อต้นทุนเงินเฟ้อสูงขึ้น
จากราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้น โดยมีความเห็นว่า “เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคา เพราะต้นทุนเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จากราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึง 70%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคาแร่เหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ผู้ผลิตรายอื่นในตลาดเองก็เริ่มปรับราคาขึ้นเช่นกัน”
นายนาวา กล่าวว่า ในปัจจุบันต้นทุนราคาเหล็กได้รับผลกระทบจากราคาค่าขนส่งที่แพงขึ้น แต่คาดว่าค่าขนส่งจะแตะเพดานราคาตามที่รัฐมีมาตรการอุ้มราคาน้ำมัน
ทำให้ค่าขนส่งจะทรงตัว อย่างไรก็ตามมองว่าราคาเหล็กเป็นไปตามปริมาณความต้องการในตลาดทั่วโลก โดยคาดว่าราคาเหล็กในไทยในปีหน้าจะปรับตัวขึ้นลง
อยู่ใกล้ราคาในปลายปีนี้ แต่จะไม่ต่ำลงถึงราคาปีก่อนหน้า
แหล่งที่มา : www.bangkokbiznews.com