ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2563 เท่ากับ 105.8 เทียบกับเดือนธันวาคม 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.8 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่สามหลังสถานการณ์โควิด
เริ่มคลี่คลาย และขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งเป็นการสูงขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 5.4 ตามต้นทุนวัตถุดิบ
และความต้องการที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หมวดซีเมนต์ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตยังคงลดลง เนื่องจากสินค้าล้นตลาด จากการที่ภาคการก่อสร้าง
ยังคงซบเซา แต่เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากโครงการก่อสร้างภาครัฐ
การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2562 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้น
ของบานประตู และวงกบหน้าต่าง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 5.4 ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่สามหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย
โดยเป็นการปรับตัวสูงขึ้นของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลวดเหล็ก ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เหล็กแผ่น
เรียบดำ ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป ชีทไพล์เหล็ก ข้อต่อเหล็ก และตะปู เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาเศษเหล็ก ในขณะที่ปีที่ผ่านมาเหล็กมีราคาต่ำ
ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องแกรนิต และกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น
ซึ่งปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน และสีรองพื้นโลหะ หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้น
ของกระจกเงา โถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซี ท่อพีวีซี
ถังเก็บน้ำสแตนเลส และถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ซึ่งราคาสูงขึ้นตามต้นทุน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ซึ่งยังคงเป็นผล
ต่อเนื่องจากการลดกำลังการผลิตตั้งแต่ช่วงกลางปีจากสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับความต้องการที่เริ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ในขณะที่หมวดสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 2.2 ซึ่งยังคงลดลงต่อเนื่องจากสินค้าในกลุ่มปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากการก่อสร้างภาคเอกชนที่ยังคงซบเซาเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เกิดการแข่งขันสูง และหมวดผลิตภัณฑ์
คอนกรีต ลดลงร้อยละ 1.8 จากการลดลงของชีทไพล์คอนกรีตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ถังซีเมนต์สำเร็จรูป พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง คานคอนกรีตสำเร็จรูป และผนัง
คอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากการก่อสร้างที่ยังคงซบเซา
2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้น
ของชีทไพล์คอนกรีต เนื่องจากการความต้องการสูงขึ้น จากการก่อสร้างภาครัฐที่เริ่มดำเนินการ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากการสูงขึ้นของ
เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลวดเหล็ก ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เหล็กแผ่นเรียบดำ ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป
และชีทไพล์เหล็ก ตามการสูงขึ้นของราคาเศษเหล็กในตลาดโลกที่สูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่หมวดสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ลดลง
ร้อยละ 1.9 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากความต้องการเร่งระบายสินค้าในช่วงปลายปี ส่วนสินค้าที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว หมวดสุขภัณฑ์ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ
3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ลดลงร้อยละ 1.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดซีเมนต์ ลดลง
ร้อยละ 0.6 ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งยังลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากภาวการณ์ก่อสร้างที่ยังคงซบเซาเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ประกอบกับการแข่งขันที่สูงอันเกิดจากการเร่งระบายสินค้าของผู้ประกอบการ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 2.0 ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นคอนกรีต
สำเร็จรูปอัดแรง คานคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา ถังซีเมนต์สำเร็จรูป ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป และชีทไพล์คอนกรีต ซึ่งยังคงลดลงต่อเนื่องจาก
ภาวะการก่อสร้างที่ยังคงซบเซาตลอดทั้งปีนี้ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 7.6 ได้แก่ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ลวดผูกเหล็ก ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อสแตนเลส ท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจตุรัส เหล็กแผ่นเรียบดำ ชีทไพล์เหล็ก ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป ตะปู และเมทัลชีท
เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่หมวดสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น
ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ ไม้ฝา ไม้แบบ บานประตู ไม้โครงคร่าว วงกบประตู วงกบหน้าต่าง ไม้คาน ไม้ฝา และไม้พื้น หมวดกระเบื้อง
สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ กระเบื้องแกรนิต ซึ่งราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ สีรองพื้นปูน-โลหะ สีเคลือบน้ำมัน และซิลิโคน
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ โถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก กระจกเงา ที่ใส่สบู่ ราวจับสแตนเลส และสายน้ำดี หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้า
และประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยสูงขึ้นจากสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซี ท่อพีวีซี และถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส-สแตนเลส และหมวดวัสดุ
ก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ ยางมะตอย ซึ่งยังคงเป็นผลจากการลดกำลังการผลิตตั้งแต่ช่วงกลางปีจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ราคาเฉลี่ยสูงขึ้น
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (สูงขึ้นร้อยละ 0.1) หมวดเหล็ก
และผลิตภัณฑ์เหล็ก (สูงขึ้นร้อยละ 4.7) หมวดกระเบื้อง (สูงขึ้นร้อยละ 0.3) และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สินค้าที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่
หมวดซีเมนต์ (ลดลงร้อยละ 1.0) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ลดลงร้อยละ 0.5) หมวดวัสดุฉาบผิว (ลดลงร้อยละ 0.1) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 0.6)
ในขณะที่สินค้าที่มีราคาเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดสุขภัณฑ์
5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (สูงขึ้นร้อยละ 0.1)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (สูงขึ้นร้อยละ 3.0) หมวดกระเบื้อง (สูงขึ้นร้อยละ 2.0) หมวดวัสดุฉาบผิว (สูงขึ้นร้อยละ 0.4) หมวดสุขภัณฑ์ (สูงขึ้นร้อยละ 0.1)
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (สูงขึ้นร้อยละ 0.8) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ (สูงขึ้นร้อยละ 0.4) สินค้าที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ (ลดลงร้อยละ 1.0)
และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ลดลงร้อยละ 2.2)
6. ภาพรวมดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2563 และแนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2564 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เฉลี่ยทั้งปี 2563 ลดลงร้อยละ 1.8 โดยปรับลดลง
ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายนของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก รวมถึงหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดซีเมนต์
สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายเหล็ก และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากสภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ชะลอตัว
ทำให้ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาคเอกชน ที่มีการชะลอการเปิดโครงการใหม่ ๆ เนื่องจาก
ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น และขาดกำลังซื้อจากต่างชาติ สอดคล้องกับยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2563 ขณะที่โครงการก่อสร้างของภาครัฐที่แม้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แต่ก็ดำเนินการได้ช้ากว่ากำหนด ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหว
ในทิศทางปกติสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างกลับมาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เป็นผลจากการลงทุนในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ และการลงทุนเพื่อพื้นฟู
เศรษฐกิจของต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ส่งผลให้ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในปี 2564 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ภายในประเทศ
ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ และมาตรการภาครัฐต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งจากแผนโครงการก่อสร้าง
ของภาครัฐที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2563 โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการก่อสร้างภาคเอกชนที่กลับมาดำเนินการมากขึ้น
ประกอบกับการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคการก่อสร้างของต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน อาจจะส่งผลให้ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลก
ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาคการ
ก่อสร้างและภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วเท่าที่ควร
แหล่งที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์